วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าวเกี่ยวกับ Software และ Technology











2. ข่าวเกี่ยวกับ Software และ Technology ที่นิยมใช้มากที่สุด และ Technology มีฐานผลิตที่ประ้ทศไหนผลิตเกี่ยวกับอะไร

  • ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน เผยแพร่ผลการวิจัย ชี้ผู้ใช้งานกว่าร้อยละ 70 พอใจซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนซอร์ส Apache OpenOffice 3.4 ด้วยยอดการดาวน์โหลดใช้งานแล้วกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก...
  • ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) เผยงานวิจัย โดยนายทศพนธ์ นรทัศน์ นักวิจัย ระบุว่า จากรายงานการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2010 พบว่า ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในโลก คือ Microsoft Office ร้อยละ 72 รองลงมาคือ OpenOffice.org ร้อยละ 21.5 (ปัจจุบันคือ Apache OpenOfficeTM) และอื่นๆ ร้อยละ 6.5 (Webmasterpro, 2010) ซึ่งส่วนแบ่งตลาดของ Microsoft Office ลดลงประมาณร้อยละ 23 จากที่เคยครองส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 95 เมื่อปี ค.ศ. 2006 (Hamm, 2006) แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่จะใช้ชุดโปรแกรมสำนักงาน OpenOffice และอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น แต่ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับ Microsoft Office โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในเชิงธุรกิจหลายๆ ประเทศ ได้พยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยส่งเสริมการใช้และพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงาน OpenOffice.org (ปัจจุบันคือ Apache OpenOfficeTM) หรือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อยอดจากซอฟต์แวร์ดังกล่าว เช่น LibreOffice ในประเทศอย่างจริงจัง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น ทำให้ลดการพึ่งพาซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ และเป็นการยกระดับขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
  • สำหรับปริมาณการใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงาน OpenOffice.org org (ปัจจุบันคือ Apache OpenOffice) หรือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อยอดจากซอฟต์แวร์ดังกล่าว เช่น LibreOffice แม้จะไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดในประเทศไทย เนื่องจากซอฟต์แวร์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้บุคคล หรือองค์กรสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่จากประมาณการโดยอนุมานจากผลการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ พ.ศ. 2553 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2554: v, 8-9 ) พบว่า มีสถานประกอบการประมาณ 2,157,907 แห่ง โดยเป็นสถานประกอบการที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารจัดการภายในของ สำนักงานส่วนหลัง (Back Office) จำนวน 414,210 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 81.8 ของสถานประกอบการที่ใช้คอมพิวเตอร์ ในจำนวนนี้มีการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ร้อยละ 2.5 หรือประมาณ 10,355 แห่ง โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในสถานประกอบการที่มีบุคลากรมากกว่า 200 คนขึ้นไป โดยปรากฏในสถานประกอบการที่เป็นโรงพยาบาลมากที่สุด
  • การเปลี่ยนจากซอฟต์แวร์จากชุดโปรแกรมสำนักงาน Microsoft Office ไปเป็นซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงาน OpenOffice.org ขนาดใหญ่ครั้งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2549 ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์กรธุรกิจอื่นๆ เช่น การเคหะแห่งชาติ บริษัท เอส แอนด์ พี ชินดิเคท จำกัด (มหาชน) บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ฯลฯ (Samphan Raruenrom, 2010) ตัวอย่างความสำเร็จของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ OpenOffice.org โดยติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 7,000 เครื่อง ช่วยให้ทาง กฟผ. ประหยัดงบประมาณค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้มากกว่า 70 ล้านบาท แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการสอนการใช้งานให้พนักงานอย่างต่อเนื่อง (พิสิษฐ์ อิงคสุวรรณ, ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ กฟผ., 2554: 44-48)
  • จากรายงานการวิจัยของผู้เขียน เรื่อง “ปัจจัยความสำเร็จของการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงาน OpenOffice.org” โดยสุ่มตัวอย่างผู้ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว จากองค์กรธุรกิจที่เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ OpenOffice.org เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี จำนวน 5 องค์กร (นับถึงเดือน ธ.ค.2553) จำนวน 497 คน พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อซอฟต์แวร์ OpenOffice.org (ปัจจุบัน คือ Apache OpenOfficeTM) และเห็นว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับงานขององค์กรได้ แม้จะไม่ดีเท่ากับ Microsoft Office แต่การนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้งาน ก็สามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้เป็นจำนวนมาก และผู้ใช้ส่วนใหญ่ยินดีจะแนะนำให้คนที่รู้จัก หรือองค์กรอื่นเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org หรือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อยอดจากซอฟต์แวร์ดังกล่าว เช่น LibreOffice
  • ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกตำแหน่งงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.43 สนับสนุนให้องค์กรใช้ซอฟต์แวร์ OpenOffice.org ต่อไป ส่วนผู้ใช้อีกร้อยละ 26.76 ต้องการให้องค์กรเปลี่ยนกลับไปใช้ Microsoft Office ผู้ใช้ร้อยละ 2.62 ต้องการให้องค์กรไปใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงาน LibreOffice ซึ่งปัจจุบันเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อยอดจาก OpenOffice.org และเริ่มที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย เมื่อพิจารณาจากประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากการนำซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพน ซอร์ส มาใช้งาน ได้แก่ ลดค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ขององค์กร เมื่อเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org ทดแทนซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ ลดค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ขององค์กรเมื่ออัพเกรดเวอร์ชั่น ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรประกอบกับฝ่ายโอเพนซอร์ส สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า http://ThaiOpenSource.org หรือ www.sipa.or.th ได้ประกาศว่าจะระดมสรรพกำลังกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้ได้มากที่สุด โดยการให้คำปรึกษาในการเปลี่ยนมาใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและการใช้ ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานและองค์กรธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนมาให้งานซอฟต์แวร์โอ เพนซอร์สได้รวดเร็ว เข้าใจการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ในองค์กร จัดการเรื่องต้นทุนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ได้ อีกทั้งยังลดอัตราการเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ รวมถึงการให้บริการฝึกอบรมการใช้งาน การประยุกต์ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ให้กับองค์กรต่างๆ
  • ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนซอร์ส (OpenOffice.org) ส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 70 ในองค์กรธุรกิจ เห็นว่าซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่ดีพอ จะแนะนำให้องค์กรอื่น หรือบุคคลที่รู้จักเปลี่ยนมาใช้ด้วย
  • จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์ชุดโปรแกรมสำนักงานโอเพนซอร์สอย่าง OpenOffice.org (ปัจจุบันคือ Apache OpenOffice 3.4 ที่มีผู้ดาวน์โหลดไปใช้งานแล้ว มากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก) หรือ LibreOffice (ปัจจุบันคือ LibreOffice 3.5.3) มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรธุรกิจ ที่มีบุคลากรมากกว่า 200 คนขึ้นไป เนื่องจากซอฟต์แวร์มีขีดความสามารถเพียงพอ ที่จะรองรับงานโดยทั่วไปขององค์กร และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ลดได้สามารถนำไปซื้อฮาร์ดแวร์ หรือพัฒนาองค์กร พัฒนาบุคลากรให้ประสิทธิภาพและคุณภาพยิ่งขึ้น. สามารถ ไอ-โมบาย แถลงข่าว ไอ-โมบายเผยโฉมสมาร์ทโฟน แอนดรอยด์ “i-mobile i-STYLE” และแท็บเลต “i-note WiFi” บริษัท
  •  สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) จัดงานเปิดตัวโทรศัพท์มือถือไอ-โมบาย รุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชั่นคุ้มค่าคุ้มราคา โดยรุ่นไฮไลท์ที่เปิดตัว ได้แก่ กลุ่มสมาร์ทโฟน แอนดรอยด์ 3จี ใช้งาน2ซิม “i-mobile i-STYLE 1, i-STYLE 2, i-STYLE Q1, i-STYLE Q2” และแท็บเลตพีซี แอนดรอยด์ 4.0 “i-note WiFi” เครื่องแรก นอกจากนี้ยังยกขบวนมือถือมัลติมีเดียที่ตอบสนองการใช้งานโซเชียลแชตครบทุกเซกเมนต์ ได้แก่ i-mobile Hitz , i-mobile ZAA , i-mobile idea พร้อมมอบโปรโมชั่นพิเศษสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเลตทุกรุ่น กับโปรโมชั่นผ่อนสบายๆ 0เปอร์เซ็นต์นาน 6 เดือน และรับแพ็กเกจซิมการ์ด i-mobile 3GX ใช้งานฟรี 500 MB นานถึง 6 เดือน สำหรับใช้งานร่วมกับมือถือระบบ3จี พร้อมพบแขกรับเชิญพิเศษที่มาร่วมสร้างสีสันที่บูธ ไอ-โมบาย

    เทคโนโลยีมีฐานการผลิตที่ประเทศอะไรบ้าง

    1.ประเทศจีน
    2.ประเทศเยอรมัน
    3.ประเทศฟินแลนด์
    4.ประเทศอาเซอร์ไบจัน
    อ้างอิง
    http://m.thairath.co.th/content/tech/260794

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น