วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1


1. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย


- ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) จัดเก็บหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า จะประมวลผลการทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่กำหนดไว้


- ความเร็ว (Speed) จะประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง


- ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำและมีความผิดพลาดน้อย


- ความน่าเชื่อถือ (Reliability) จะประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีความน่าเชื่อถือและสามรถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้ โดยเฉพาะปัจจุบันซึ่งมีฮาร์ดแวร์จะประมวลผลมีความผิดพลาดต่ำมากหรือแทบไม่เกิดเลย


- การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capability) สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความธรรมดาหลายๆล้านตัว เพลง ภาพถ่าย วีดีโอ หรือไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก


- ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability) ทำงานซ้ำๆกันหลายรอบลดความผิดพลาดต่างๆ สามารถคำนวณหาผลลัพธ์ของงานที่มีลักษณะซ้ำๆ เช่น การทำรายการสินค้าเข้า-ออกในระบบสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นเป็นประจำ การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน


- การติดต่อสื่อสาร(Communication) สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรเล็กๆหรือระดับเครือข่ายใหญ่ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้การประมวลผลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


2. เครื่อง Suan-pan เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์อย่างไร จงอธิบาย


- เครื่องมือช่วยนับเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น เรียกว่า ลูกคิด (abacus) มีการนำเอาลูกคิดนี้ไปใช้ในเชิงการค้ามากขึ้นและแพร่หลายไปยังหลายๆประเทศ


3. แท่งคำนวณของเนเปียร์ (Napier’S bone) สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไร


- นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตชื่อ จอห์น เนเปียร์ (John Napier) เมื่อต้องการคูณตัวเลขใดๆก็จะเอาตัวเลขนั้นๆมาวางเรียงต่อกัน แล้วใช้แท่งดรรชนี (Index) เป็นหลักที่ใช้ในการหาผลลัพธ์จากการคำนวณมาวางไว้ด้านหน้า จากนั้นนำมาเทียบเคียงให้ตรงกับตัวเลขนั้นแล้วทำการคูณและหาผลลัพธ์


4. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาของคอมพิวเตอร์” คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น


- ชาจลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) สร้างเครื่องจักรกลชนิดใหม่ เรียกว่า Analytical Engine เพื่อคำนวณงานแทบทุกชนิดและต้องทำงานตามคำสั่งได้ (programmable) โดยอาศัยแนวคิดของแจคกการ์ดที่เอาบัตรเจาะรูมาช่วยควบคุมลายการทอผ้าให้ได้ตามแบบ อาศัยองค์ประกอบการทำงานดังนี้


- Input Device อาศัยบัตรเจาะรูนำข้อมูลเข้าสู่ตัวเครื่อง


- Arithmetic Processor ทำหน้าที่คำนวณเพื่อหาผลลัพธ์


- Control Unit ควบคุมและตรวจสอบงานได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือไม่


- Memory เก็บตัวเลขเพื่อรอการประมวลผล


5. เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด


- เครื่อง ENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพสหรัฐอเมริกาให้ออกแบบสร้างคอมพิวเตอร์เอาไว้สำหรับช่วยคำนวณวีถีกระสุนปืนใหญ่


6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติคอมพิวเตอร์


- พัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ใน (stored program) โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลเข้าใหม่ทุกครั้ง


7. เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใดและนำมาใช้กับงานด้านใด


- เครื่อง UNIVAC (UNIVersel Automatic Computer) โดยนำมาใช้สำหรับทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา


8. ทรานซิสเตอร์กับแผงวงจรเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย


- แตกต่างกัน ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟที่น้อยกว่าแยกเป็นตัวๆทำให้ต้นทุนผลิตสูงมาก แผงวงจรที่เรียกว่า IC จะสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากถึง 1,000 ตัว การผลิตจำหน่ายโดยตัวเครื่องมีขนาดที่เล็กลง เรียกว่า “มินิคอมพิวเตอร์” ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าเดิม


9. E-Government คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ


- การนำเอาคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานทะเบียนราษฎร์ของภาครัฐ เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆหรือทำบัตรประจำตัวประชาชน


10. สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) คืออะไร และมีการลดต้นทุนโดยนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ


- การพยายามลดต้นทุนในเรื่องการให้บริการและสำรองที่นั่งโดยใช้แรงงานคน จึงนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยและได้มีการพัฒนาระบบสำรองที่นั่งโดยให้ลูกค้าทำการจองที่นั่งได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า E-Booking ทำให้ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ต้นทุนการดำเนินงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด


11. ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอดีต


- การสอนจะเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง คือ จะอยู่ในรูปแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยรูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูด และเทคนิคการนำเสนอ


12. รูปแบบของ E-Banking สามารถทำได้โยผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 ช่องทาง


- การทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม ผ่านเครือข่ายเว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ เช่น ฝาก-ถอน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์และค่าบริการผ่อนชำระค่าสินค้าต่างๆ


13. คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดและแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ


- คอมพิวเตอร์มือถือ จัดการข้อมูลประจำวัน การสร้างปฏิทินนัดหมาย การดูหนัง ฟังเพลงรวมถึงการรับส่งอีเมล์ ไมโครคอมพิวเตอร์มีราคาถูกหาชื่อใช้ได้ทั่วไปมักพบเห็นในสำนักงานหรือบ้านพักอาศัยในรูปแบบของเครื่องพีซีตั้งโต๊ะและพกพา


14. แท็บเล็ต (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ


- สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปโดยการเขียนบนจอภาพเหมือนการเขียนข้อความลงไปในสมุดโน้ตและเครื่องสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆเหล่านั้นเก็บไว้ได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องและโปรแกรมในแต่ละรุ่น บางเครื่องสามารถพลิกหน้าจอได้ 2 แบบ คือ เหมือนกับการใช้งานแบบโน้ตบุ๊คหรือเหมือนกับกระดานรองเขียน


15. PDA Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ


- คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพกพาใส่กระเป๋าได้ใช้สำหรับอรรถประโยชน์ทั่วไป เช่น การใช้งานเพื่อธุรกิจ เป็นเครื่องช่วยบันทึกความจำต่างๆ สร้างรายการนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ เป็นต้น


16. ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง


- การเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์สามารถเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสื่อสาร เช่น รับรู้และจดจำเสียง แยกแยะเสียงสูงต่ำ เน้นเสียงของคำหรือรูปแบบการการพูดได้โดยอัตโนมัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น